1. ชื่อผู้เสนอโครงงาน นายสัจจา พิพัฒน์ผล
2. ที่ปรึกษาโครงงาน
1. อาจารย์อิทธิเดช วิเชียรรัตน์
2. อาจารย์สุคนธา ทรงสง่า
3. ผอ. เพ็ญศรี รัตน์พันธ์
4. นางพวงน้อย พิพัฒน์ผล อายุ 35 ปี อาชีพเกษตรกรรม
การศึกษา
- ปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเกษตรศาสตร์นครศรีธรรมราช สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
- ปริญญาโท สาขาธุรกิจเกษตร เศรษฐศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ประสบการณ์
- อาจารย์จ้างสอน สาขาอุตสาหกรรมอาหาร วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา ปี พ.ศ. 2540-2545
- ทำงานกับกลุ่มออมทรัพย์ เพื่อการผลิตบ้านกะโสม และกลุ่มอาชีพต่างๆ ในองค์กรเกษตรผสมผสาน
- เป็นวิทยากรท้องถิ่น ให้กับโรงเรียนวัดกะโสม ในปีการศึกษา 2551 และ 2552
5. นางเจียร เมฆาภาค อายุ 63 ปี อาชีพเกษตรกรรม
ภูมิลำเนาเป็นคน อำเภอร่อนพิบูลย์ แต่งงานมีครอบครัว ย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่
ตำบลกะปาง เมื่อปี พ.ศ. 2500 บุกเบิกป่าหลังการสัมปทาน ทำสวนยางพารา ปลูกพืชผักบริโภคและจำหน่าย ทำสวนสมรม ใช้ชีวิตแบบพอเพียง อยากกินอะไรก็ปลูก พืชผักจะปลูกไว้กินเองตลอด เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ ไว้บริโภคในครัวเรือน และเหลือจำหน่าย ดำเนินชีวิตแบบพอเพียง เป็นโรคเบาหวานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 จนถึงปัจจุบัน
3. ความเป็นมาของโครงงาน
3.1 ความใฝ่ฝันของข้าพเจ้าที่มีต่ออาชีพของงตนเอง คือ
1. สร้างสวนสมรม พื้นที่ 7 ไร่
2. แหล่งรวบรวมผักพื้นบ้านในภาคใต้
3. ผลิตผักพื้นบ้านและขยายพันธุ์เพื่อจำหน่าย
4. ผลลิตปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ให้พอใช้ในสวนสมรม
5. แปรรูปผลผลิตจากสวนสมรมไว้บริโภคและจำหน่ายในท้องถิ่น
6. ลดภาระหนี้สินจำหน่ายจำนวน 100,000 บาท ให้หมดภายในเวลา 3 ปี
3.2 สภาพความเป็นอยู่ที่ไม่เป็นไปตามความใฝ่ฝัน คือ
1. สวนสมรมที่มีอยู่ในปัจจุบันสร้างยังไม่เต็มพื้นที่ทั้ง 7 ไร่และขาดการจัดการที่ดี
2. การรวบรวมพันธุ์ผักพื้นบ้านของภาคใต้ต้องศึกษาและหามาเพิ่มให้มากขึ้น
3. การผลิตผักพื้นบ้านและการเพาะขยายพันธุ์ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด
4. การใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพในสวนสมรม ยังไม่เพียงพอ
5. การแปรรูปผลผลิตยังไม่เต็มที่และไม่มีผลผลิตภัณฑ์จำหน่ายอย่างต่อเนื่อง
6. ปัจจุบันมีภาระหนี้สิน กู้จากธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. และกลุ่มออมทรัพย์รวมประมาณ 100,000 บาท
3.3 สิ่งหรือเหตุการณ์หรือตัวอย่างที่บ่งชี้อย่างเป็นรูปธรรม ว่าข้าพเจ้าเป็นอย่างใน ข้อ 4.2 คือ
1. ปัจจุบันในพื้นที่มีสวนสมรมอยู่ประมาณ 4 ไร่ ต้นไม้ส่วนใหญ่มีการปลูกในรุ่นพ่อและปลูกเอง ไม่มีการจัดการและวางแผนจัดลำลับชั้นของพืชตั้งแต่เริ่มต้น
2. การรวบรวมพันธ์ผักพื้นบ้านของภาคใต้ ได้มีการบันทึกทั้งปริมาณ ชนิด และวันที่นำมาปลูก แต่ข้อมูลไม่ได้มีการรวบรวมให้ชัดเจนและเป็นระเบียบ
3. การผลิตผักพื้นบ้านเพื่อจำหน่าย ได้แก่ เขลียง ชะอม ชะมวง ผักกูด ส้มเม่า ตามัด ขี้พร้าแม่หมก ส่วนการขยายพันธ์ผักพื้นบ้านเพื่อจำหน่ายมีเฉพาะเขลียง ปี 2551 ตอนกิ่งได้ประมาณ 1,500 กิ่ง
4. ในปี 2551 มีการใช้ปุ๋ยหมักในสวนสมรม ประมาณ 1 ตัน ควรจะผลิตใช้ประมาณ 5 ต้น จึงจะเพียงพอ
5. การแปรรูปผลผลิตจากสมรม เพื่อการบริโภคและจำหน่าย ได้แก่ การแปรรูปกล้วย เงาะ ทุเรียน มังคุด หน่อไม้ สะตอ และระกำ
6. หนี้สินจากธนคารออมสิน 12,000 บาท ธ.ก.ส. 70,000 บาท และกลุ่มออมทรัพย์ 15,000 บาท
3.4 ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงทำโครงงาน
“ การสร้างสวนสมรมเล็กน้อย” เพื่อให้สภาพที่ไม่เป็นไปตามใฝ่ฝันของข้าพเจ้าลดลงหรือหมดไป
4. จุดประสงค์เฉพาะของโครงงานของข้าพเจ้า คือ
1. เพื่อสร้างสวนสมรมในพื้นที่ 7 ไร่ ทำการเกษตรอินทรีย์ 100% ภายใน 3 ปี
2. นำผลผลิตจากสวนสมรมมาบริโภคและจำหน่ายเป็นรายได้เสริมของครอบครัว
3. เพื่อผลิตกิ่งพันธ์ผักพื้นบ้านจากเดิม 1,500 กิ่ง เป็นผลผลิตปีละ 5,000 กิ่ง จำหน่ายกิ่งละ 20 บาท
4. เพิ่มการผลิตยอดผักพื้นบ้านให้สามารถจำหน่ายได้ 200 มัด ต่อสัปดาห์ จำหน่ายมัดละ 5 บาท
5. ผลิตปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ปีละประมาณ 5 ตัน
6. ชำระหนี้ 97,000 บาท โดยวิธีการผ่อนเดือนละ 3,000 บาท ให้หมดภายใน 3 ปี
5. เริ่มดำเนินการ
วันที่ 1 สิงหาคม 2552 สิ้นสุด วันที่ 1 สิงหาคม 2555
6. หลักการหรือหลักวิชาการ ที่จะนำมาใช้ในการทำโครงงานนี้ คือ
1. แนวคิดตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
2. การบอกเล่าของนายอรุณ พิพัฒน์ผล และนางเจียน เมฆาภาค “เรื่องการสร้างสวน
สมรมการอยู่พอเพียง”
3. กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมที่ยั่งยืน 2551 องค์ความรู้ภูมิปัญญาของศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน สำนักปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
4. วิชาการจากสำนักงานเกษตร กรมที่ดิน การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมัก สารไล่แมลง
7. วิธีการและขั้นตอนการดำเนิน
8.1 สถานที่ 162 หมู่ที่ 4 ตำบลกะปาง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
8.2 กิจกรรม
- แผนจัดการแหล่งน้ำในสวนสมรม
- สร้างฝายน้ำล้นในลำห้วยในพื้นที่ 3 จุด
- ขยายบ่อเลี้ยงปลาเพิ่มเติม
- ติดตั้งระบบน้ำในสวนทั้งแปลง
8.3 แผนปลูกพืชเพิ่มในสวนสมรม
1. ปลูกกล้วยเสริมเต็มพื้นที่
2. ปลูกไม้ผลพันธ์ดี พันธ์แปลก พันธ์พื้นเมือง
3. ปลูกไม้ใช้สอย เช่น จำปาทอง เคียน ยางนา พอจง หลุมพอ หลังเขียว สะเดา
4. ปลูกผักพื้นบ้าน เช่น เขลียง ผักหวานป่า ผักหวานบ้าน ชะอม ส้มปอย
ขี้พร้าแม่หมก หมากหมก ตามัด
5. ปลูกพืชเกาะเกี่ยวต้นไม้ที่มีอยู่ เช่น พริกไทย ดีปรีเชือก สะค้าน
6. ปลูกผักสวนครัวให้พอบริโภคในครัวเรือน เช่น พริกขี้หนู ตะไคร้
7. ปลูกไม้ประดับ เช่น ไม่หอม ไม่ไทย
8. ปลูกพืชอาหารสัตว์
9. ปรับปรุงพันธ์พืชที่มีอยู่
8.4 แผนสิ่งปลูกสร้าง
1. สร้างบ้านให้เสร็จ
2. โรงเรือนเพาะชำ
3. โรงปุ๋ยหมัก
4. โรงเพาะเห็ด
8.5 แผนการเลี้ยงสัตว์ ในสวนสมรมเพื่อการบริโภค
1. เลี้ยงปลา 1 บ่อ
2. เลี้ยงไก่พื้นบ้าน 50 ตัว
3. เป็ดเทศ 15 ตัว
4. หมูหลุม 4 ตัว
5. เลี้ยงกบร่วมกับปลา
8.6 แผนลดต้นทุนการผลิตในสวนสมรม
1. ผลิตปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำ สารไล่แลง ฮอร์โมนพืชต่างๆ
2. ปลูกหญ้าแฝก พืชบำรุงดินต่างๆ
3. ผลิตอาหารปลา ไก่ เป็ด หมู
อุปกรณ์ที่ต้องการใช้ในสวนสมรม
แหล่งน้ำ
1. ฝาย เหล็ก ทราย หิน ปูน
2. ขยายบ่อปลา แม็คโค 4 ชั่วโมง
3. ติดตั้งระบบน้ำ ปั้มน้ำ ท่อ สปริงเกอร์
แผนปลูกพืช
1. พันธ์พืช
2. ถุงเพาะชำ
3. ดิน แกลบ ปุ๋ยหมัก ขุ๋ยมะพร้าว
สิ่งปลูกสร้าง
1. บ้าน ไม้ ปูน เหล็ก ทราย
2. โรงเพาะชำ เสาปูน แสลน เหล็ก
3. โรงปุ๋ย ไม่ จาก
4. โรงเห็ด ไม้ จาก
สัตว์
1. เลี้ยงปลา แม็คโค พันธ์ปลา
2. ไก่ เป็ด ไม้ จาก
3. หมู ไม้ จาก
ลดต้นทุน
1. ปุ๋ย ถังหมัก พด. (เชื้อจุลินทรีชนิดต่างๆ)
2. หญ้าแฝก พืชบำรุงดิน
3. อาหารสัตว์ พันธ์พืชอาหารสัตว์
9. ประโยชน์ที่ข้าพเจ้าคาดว่าจะได้รับจากโครงงานนี้
1. การทำงานในสวนสมรมมีระบบแผนมากขึ้น
2. สามารถปลดหนี้สินได้ 100,000 บาท ได้ภายใน 3 ปี
3. มีอาหารปลอดภัยไว้กิน แจก แลก ขาย
10. งบประมาณที่ใช้
1. เงินออมของครอบครัว
2. เงินจากการจำหน่ายพันธ์พืช
ลงชื่อ................................................ ผู้เสนอโครงงาน
(...................................................)
วัน/เดือน/ปี ที่เสนอ .......................................................
ลงชื่อ .................................................... ผู้อนุมัติ ลงชื่อ ................................................. ผู้อนุมัติ
(...............................................) (................................................)
ผู้อำนวยการศูนย์การเรียน อาจารย์หรือทรงคุณวุฒิ
วัน/เดือน/ปี ที่อนุมัติ................................. วัน/เดือน/ปี ที่อนุมัติ .........................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น